ตู้สวิทช์บอร์ด หรือ ตู้ MDB (Main Distribution Board)

ตู้สวิทช์บอร์ด หรือ ตู้ MDB (Main Distribution Board)ตู้สวิทช์บอร์ด (Switchboards) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อตู้ MDB ซึ่งย่อมาจากภาษาอังกฤษเต็ม ๆ ว่า Main Distribution Board คือ อุปกรณ์ควบคุมกระแสไฟฟ้าหลักที่มักใช้งานกันในอาคารขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ เช่น สำนักงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรม โดยภายในตู้นั้นจะมีแผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้าจากหม้อแปลง แล้วแจกจ่ายไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในอาคารต่อไป

Power Factor Controller หรือ PFC เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลว่าค่า Power Factor เป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยค่า Power Factor นั้นคือค่าประสิทธิภาพทางไฟฟ้า โดยปกติประสิทธิภาพทางไฟฟ้าที่ดีจะมีค่า kW/kVA เท่ากับ 1 แต่ถ้าหากมีการใช้งานไฟฟ้ามากเกินไปจะทำให้ค่าประสิทธิภาพทางไฟฟ้าลดลง เจ้า PFC จะช่วยสั่งให้ Capacitor Bank ทำงานจ่ายไฟในส่วนที่เกิน โดยปกติแล้วการใช้งานไฟฟ้าในโรงงานมักจะไม่คงที่ ดังนั้นการติดตั้งคาปาซิเตอร์เพื่อปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (Power Factor) จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบควบคุมเพื่อใช้ในการควบคุมการตัดต่อคาปาซิเตอร์ให้เหมาะสมกับโหลด เพื่อเพิ่มคุณภาพของไฟให้ดีขึ้นและไม่โดนปรับค่า PF จากการไฟฟ้า โดยตัวควบคุมตัวนั้นเรียกว่าเพาเวอร์แฟคเตอร์คอนโทรลเลอ

Switch Brond And Power Factor Controller (PFC) กำหนด ABB 10/11 Kvar 5ตู้

 

 

หมวดหมู่: ,

รายละเอียดเพิ่มเติม

Power Meter(พาวเวอร์มิเตอร์)  คือ  เครื่องมือวัด ที่ใช้วัดและสามารถแสดงค่าเป็นพารามิเตอร์และปริมาณพลังงานไฟฟ้า โดยสามารถใช้วัดแรงดันไฟฟ้า( V ) กระแสไฟฟ้า ( I )กําลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ (Reactive Power)กำลังไฟฟ้าจริง และ Harmonic โดยส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมจะนำตัว Power Meter ไปใช้วัดค่าไฟฟ้าในขบวนการผลิตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดและยังสามารถช่วยจัดการด้านพลังงานไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องเพื่อจะได้นำข้อมูลไปใช้ในด้านการควบคุมหรือนำไปปรังปรุงการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด และจำเป็นต้อง สอบเทียบเครื่องมือวัด นี้อย่างสม่ำเสมอเพื่อความเที่ยงตรงของการวัด

สามารถวัดค่าพื้นฐานทางไฟฟ้าได้ครบทุกค่าเช่น:
•    แรงดัน ( Voltage) : แรงที่มากระทำให้อิเล็คตรอนหลุดเป็นอิสระ ทำให้เกิดกระแสไหล หน่วยเป็น โวลต์ (V)
•    กระแส (Current) : การไหลของอิเล็คตรอนโดยอิเล็คตรอนจะไหลจากขั้นลบไปหาขั้วบวกเสมอ จนกว่าประจุไฟฟ้าจะกลับเข้าสู่สภาวะความเป็นกลาง  หน่วย แอมป์แปร์ (A)
•    ความถี่ (Frequency) :  คือจำนวนรอบคลื่นต่อวินาที  หน่วย เฮิร์ต (Hz)
•    ค่าประกอบกำลังไฟฟ้า (Power factor) : เป็นดัชนีแสดงการใช้กำลังไฟฟ้าจริงเปรียบเทียบกับกำลังไฟฟ้าเสมือน
•    ค่ากำลังไฟฟ้าจริง (Active Power) :  เป็นกำลังไฟฟ้าที่ใช้งานจริง ค่ากำลังไฟฟ้าปรากฏ  หน่วย วัตต์ (W)
•    ค่ากำลังไฟฟ้าเสมือน (Reactive Power) : เป็นกำลังไฟฟ้าที่ต้องการสร้างสนามแม่เหล็ก  หน่วย วาร์ (Var)
•    ค่าฮาร์มอนิกส์ในระบบ  :ส่วนประกอบในรูปสัญญาณคลื่นไซน์ (Sine wave) ของสัญญาณหรือปริมาณเป็นคาบใดๆ ซึ่งมีความถี่เป็นจำนวนเต็มเท่าของความถี่หลักมูลเช่น ฮาร์มอนิกลำดับที่ 3 มีค่าความถี่เป็น 150 Hz และ ฮาร์มอนิกลำดับที่ 5 มีค่าความถี่เป็น 250 Hz เป็นต้น